เครื่องทดสอบหัวฉีดคอมมอนเรล

SK รุ่น Di-90

Bosch , Denso , Delphi , Siemens

ยกหัวฉีด Tiger D4D ได้

ยกหัวฉีด Vigo Champ,Revo

ยกหัวฉีดเปียโซได้(BT50,Ranger 2012)

อุปกรณ์ครบชุด สายต่อหัวฉีดทุกแบบ


 

สำหรับเช็คหัวฉีด Bosch ,Denso 1,Denso2(Tiger D4D),Delphi

เช็คหัวฉีดเปียโซ(Piezo-electric Injector)ได้ (BT50 , Ranger 2012-2013-now)

เช็คหัวฉีดTiger D4D ,Vigo Champ

 

มีเครื่องมือนี้ งานเช็คระบบหัวฉีดดีเซล

ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ใช้งานง่ายมาก ไม่ยุ่งยาก

 

ชุดเช็คหัวฉีด จะทรงประสิทธิภาพที่สุด หากใช้งานร่วมกับเครื่องสแกน X431,DS708,ProScan

เนื่องจากทำให้รู้ว่า หลังจากหัวฉีดทำงานแล้ว การเผาไหมสมบูรณ์ดีหรือไม่ ระบบโดยรวมของเครื่องยนต์ เป็นอย่างไร

คุ้มค่ากับการลงทุน ในราคาเหมาะสม ท่านสามารถจบงานได้ภายในอู่ซ่อมท่านเอง เพิ่มรายได้ให้กิจการ

 

 

  1. คอมพิวเตอร์สั่งการหัวฉีด Electronic Unit
  2. สายต่อหัวฉีดทุกแบบ
  3. Main cable

ตั้งค่าความถี่ FREQ :1- 100 Hz ---ให้ยกถี่ ช้า เร็ว ตามต้องการ , rpm =120x F

ตั้งค่าการยก WIDE : 50-6000 ไมโครวินาที ---ให้ยกมาก ยกน้อย

Count T: 0-600

เครื่องทำงานอัตโนมัติ มีโปรแกรมให้เลือก 4 Mode

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลักษณะของหัวต่อแบบต่างๆ

ใช้ได้กับหัวฉีดทุกยี่ห้อ

Bosch ,Denso ,Delphi

 

 

 

จำแนกสาย

 

ซื้อสินค้ากับเรา

เรามี Nozzle จำหน่าย

ในราคาพิเศษ

ท่านสามารถ ตรวจเช็คหัวฉีด พร้อมเปลี่ยนเข็มได้ทันที

ไม่ต้องส่งร้านเช็คปั้ม

 

 

(เพิ่มเติม)ฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่อง  Test  หัวฉีด Di – 10
ทำการสั่งยกหัวฉีดคอมมอนเรล  โดยสามารถ  ตั้งค่าการทำงานหลัก ๆ  2  อย่าง  คือ

  1. เวลาในการยก  โดยการเซ็ตค่า  W (Pulse  width )  มีหน่วยเป็น  ไมโครวินาที  ( 1/1,000,000  วินาที )  ภาษาช่างเรียกว่า  ยกนาน  ยกเร็ว
  2. ความถี่ในการยก  โดยเซ็ตค่า  F  ( Frequency )  คือจำนวนครั้งที่ยกหัวฉีด  ใน  1  วินาที

ในรถยนต์  4  สูบ  จะตั้งค่าประมาณ  F =  6 – 7 
หรือเท่ากับ      6 x 120   =   720   rpm
7  x  120  =   840  rpm

            เครื่องนี้เป็นเครื่องรุ่น  ประหยัด  แต่คุณภาพดี  สามารถทดสอบหัวฉีด  Commonrail  ได้ทั้ง  Denso,  Bosch,  Delphi  โดยทำการทดสอบด้วยค่าหลัก ๆ  2  ประการข้างต้น  ซึ่งเพียงเท่านี้ก็วินิจฉัยได้แล้วว่า  หัวฉีดปกติหรือไม่
นอกจากนี้  หากเรารู้ค่า  การฉีดมาตรฐานของหัวฉีดแต่ละรุ่น  ก็สามารถทำการตวงปริมาณการฉีด  ( CC )  ของหัวฉีดแต่ละหัวได้  โดยการตั้งค่า  C  ( Count )  โดยฟังก์ชั่นนี้จะทำการนับให้เรา  ( เหมือนจับเวลาในการฉีด )  แล้วหยุดอัตโนมัติ  เราจึงทำการตวงการฉีดของแต่ละหัวได้
ยกตัวอย่างเช่น          หัวฉีด  Denso  ตั้งค่าการฉีดที่
W        =          650
F          =          7
C         =          120     
หากตวงการฉีดแต่ละหัว     สมมุติว่าได้ดังนี้
หัวที่  1                        =          5.2       CC
หัวที่  2                        =          5.5       CC
หัวที่  3                        =          8.7       CC
หัวที่  4                        =          4.1       CC

ค่ามาตรฐาน  ( จากตาราง )  ระบุไว้  5.3  CC  นี่แสดงว่า  หัวฉีดที่  3  มีปัญหา  คือ  ฉีดมากเกินไป  และหัวฉีดที่  4  ก็มีปัญหาคือ  ฉีดน้อยเกินไป  อย่างนี้เป็นต้น
เมื่อทำการทดสอบแล้ว  ดีที่สุดคือ  ทำการล้างด้วยเครื่องล้างอุลตร้าโซนิคส์  ภาษาช่างเรียกว่า  เครื่องต้มหัวฉีด  ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วน  หัวฉีดสะอาด  การทำงานแม่นยำขึ้น  หลีกเลี่ยงปัญหาหัวฉีดตัน  ยกไม่ได้  ซึ่งจะส่งผลต่อโซลินอยด์  หัวฉีดที่จะเสียหายจากการทำงานหนัก  ( พยายามยก )  เกินไป
ง่าย ๆ  เพียงเท่านี้  งานบำรุงรักษาหัวฉีดคอมมอนเรลก็เป็นเรื่องง่าย  แล้วได้เงินด้วย

 

 

เครื่องมือที่ใช้งานคู่กันกับเครื่องเช็คหัวฉีด คือ ปั้มโยกทดสอบหัวฉีดดีเซล

ปั้มโยกทดสอบหัวฉีดดีเซล
เพื่อตรวจสอบ  ดังนี้
1.ตรวจสอบการยกของหัวฉีด
2.ตรวจสอบรั่วซึมระหว่าง ตัวเข็ม (Injector needle) กับ ตัวเสื้อหัวฉีด (Injector Body )
3.ตรวจสอบรูปแบบการสเปรย์
4.ลักษณะการไหลภายใน และการสไลด์ของเข็มหัวฉีด ( ฟังจากเสียง ) กรณีเป็นหัวฉีดแบบเก่าไม่ใช่คอมมอนเรล


การใช้งาน
ประกอบท่อแป้บเข้ากับหัวฉีดและตัวปั้ม  แล้วค่อยๆโยกคันโยกดูเพื่อเช็คดูว่ามีการรั่วซึมหรือไม่  ถ้าไม่มีให้ค่อยๆโยกเพิ่มความดันไปเรื่อยๆ
1.กรณีเช็คดูการเปิดของหัวฉีดรุ่นเก่าที่ไม่ใช่คอมมอนเรล
ต้องดูสเปคหัวฉีดรุ่นนั้นๆก่อนว่า  เปิดที่ความดันเท่าไหร่ 
โยกปั้มช้าๆ  จนกระทั่ง หัวฉีดเปิด แล้วดูว่าเปิดที่ความดันเท่าไหร่  ถ้าแตกต่างจากสเปคเดิมไปมากให้ปรับตั้งตัวชิม ( Shim ) หัวฉีดใหม่
2.กรณีเช็คการรั่วระหว่างเข็มหัวฉีดกับเสิ้อหัวฉีด
โยกปั้มไปที่ความดันที่หัวฉีดยก – 20 bar  สมมุติว่าหัวฉีดเปิดที่ 300 bar ( 0.3 MPa ) ก็โยกปั้มไปที่ 280 bar ( 0.28 MPa)
ถ้าภายในเวลา 10 นาที เข็มไม่ตก หรือ ไม่มีการออกมาจากหัวฉีดก็แสดงว่า ปกติดี แต่ถ้ามีการรั่ว ก็ให้แก้ไขโดยการเปลี่ยนเข็ม หรือ ล้าง
3.การตรวจสอบการสไลด์ของเข็ม
ให้ทำการโยกคันโยกแบบช้าๆ บ้าง  เร็วๆบ้าง แล้วฟังเสียง การยกหรือสไลด์ตัว ซึ่งจะคล้ายๆ กับเสียงผิวปากเบาๆ
การโยกปกติจะอยู่ที่ 1 ครั้ง ต่อวินาที
โยกแบบช้าๆ หัวฉีดจะสเปรย์แบบ ยาวๆ
โยกแบบเร็ว  หัวฉีดก็จะฉีดแบบสั้นๆ แต่เร็วขึ้นตามจังหวะ

หมายเหตุ
การโยกเร็วเกินไป  อาจทำให้เกจวัดความดันเสียหายได้ 
สเปรย์มีแรงดันสูง  อย่าให้ถูกผิวหนังโดยตรง เพราะจะทำให้ซึมเข้ากระแสเลือดได้

รูปแบบการฉีดที่ดี
ต้องออกมาเป็นรูปสามเหลี่ยม ( Cone Shape ) คล้ายๆโคนไอศกรีม หรือ รูปกรวย และ สเปรย์ต้องออกมาแบบละเอียดเป็นฝอยทุกทิศทาง

 


รูปแบบการฉีดที่ไม่ดี

  • ออกมาเป็นเส้นตรง ( Line )
  • ออกมาเป็นช่วงเป็นริ้ว ( Streak ) คล้ายๆ สายฟ้าฝ่า
  • ออกมาเป็นกลุ่มๆ กระจุกเป็นที่ๆไป

 

 

การเทียบค่า  ความถี่กับรอบเครื่องยนต์   ( RPM )

เครื่องยนต์  4  จังหวะ  เพลาข้อเหวี่ยงหมุน  2  รอบมีการจุดระเบิด  1  ครั้ง  หรือมีการจ่ายน้ำมัน  1  ครั้ง  ( ฉีด 4  ครั้ง ย่อย) 
ที่รอบเดินเบา  หรือประมาณ  720  rpm    ECU  จะสั่งจ่ายน้ำมัน  360  ครั้ง ในเวลา 1 นาที

ตัวตั้งความถี่ของเครื่องเช็คหัวฉีด  มีหน่วยเป็น  ครั้ง ต่อ  1  วินาที

ดังนั้น เท่ากับว่าหัวฉีด ทำการจ่ายน้ำมันเท่ากับ  360  ครั้ง / 1 นาที = 360 ครั้ง / 60 วินาที = 6 Hz

สูตรสำเร็จคือ   

รอบการหมุนเครื่องยนต์  ( rpm )         =       F  X  120
จำนวนครั้งการจ่ายน้ำมัน                    =       (F x120)/2 = rpm /2

  F คือตัวตั้งความถี่ที่เครื่องยกหัวฉีด

 

ขอแนะนำให้ท่านใช้เครื่องล้างอุลตร้าโซนิคส์และน้ำยาล้างหัวฉีดด้วย

เพื่อให้การทำงานเกี่ยวกับหัวฉีด สมบูรณ์แบบที่สุด

แบบวันสต๊อบหรือบริการครบวงจร

 

 

ารเพิ่มกำลังม้า
ตัวแปรที่จะเพิ่มกำลังม้าของเครื่องยนต์ได้ ที่สำคัญๆมีดังต่อไปนี้
เพิ่มขนาดของกระบอกสูบ  ยิ่งมีขนาดใหญ่กำลังของเครื่องยนต์ก็ยิ่งมาก      
เพิ่มกำลังอัดของลูกสูบ  (Compression ratio)  ยิ่งมีอัตราส่วนอัดมากเท่าไร  กำลังก็ยิ่งได้มากขึ้นเท่านั้น  ในทางกลับกันกำลังอัดที่เพิ่มขึ้น  หมายความว่า เชื้อเพลิงสามารถระเบิดขึ้นได้เอง ก่อนที่หัวเทียนจะจุดระเบิด   นั่นหมายความว่า   เครื่องเกิดการน๊อคขึ้นได้    เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงต้องใช้น้ำมันออกเทนสูง  เพื่อป้องกันการเกิดเผาไหม้ก่อนเวลานั่นเอง  
เพิ่มแรงดันให้อากาศเข้า   ถ้าอัดอากาศให้แรงดันมากขึ้น  โดยใช้เทอร์โบชาร์จ และซุปเปอร์ชาร์จ   ทำให้กำลังเพิ่มขึ้นได้
ลดอุณหภูมิของอากาศที่ไหลเข้า   หมายความว่ายิ่งอากาศเย็น มวลอากาศยิ่งมาก ดังนั้นจึงเข้าไปสันดาปได้มากขึ้น กำลังม้าก็มากขึ้น
 ขัดช่องไอดีให้เงาี่สุดเท่าที่จะทำได้   ขณะที่ลูกสูบอยู่ในจังหวะดูด  ถ้าเกิดแรงเสียดทานขึ้นกับอากาศที่กำลังไหลเข้า   กำลังของเครื่องยนต์จะลดลง  ดังนั้นรถที่ต้องการกำลังมากใช้วิธีการขัดเงาช่องทางเข้าลดแรงเสียดทานของการไหล
เปิดช่องไอเสียให้แก๊สไหลได้ง่ายขึ้น  เช่นการเพิ่มวาล์วไอเสีย การทำให้ท่อไอเสียโล่ง
ทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์เบาลง  ชิ้นส่วนที่เบา ทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพขึ้น  แต่ละครั้งที่ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นและลง  มันต้องใช้พลังงานมาก     ดังนั้นเมื่อลูกสูบที่มีน้ำหนักเบาขึ้น จะเพิ่มประสิทฺธิภาพให้เครื่องยนต์อย่างมาก
ระบบการป้อนเชื้อเพลิง   ถ้าระบบนี้ถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพและเที่ยงตรงสูง   จะช่วยให้ส่วนผสมเชื้อเพลิงได้สัดส่วนที่ถูกต้องป้อนเข้าไปในกระบอกสูบ  และเพิ่มกำลังขึ้น

หัวฉีด เป็นส่วนที่สำคัญอันดับต้นๆในการทำให้เครื่องยนต์แรงหรือไม่แรง รวมทั้งการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงด้วย

การตรวจสอบและบำรุงรักษาหัวฉีดจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก